ถ้าพูดถึง ” ปลั๊กอิน WordPress ” นั้นมีมากมายเหลือเกิน จนเลือกใช้ไม่ถูก และไม่รู้ว่าปลั๊กอินตัวไหนดี – หรือไม่ดี จะลองใช้ทุกตัวก็เป็นไปไม่ได้ เพราะจะเสียเวลามากและเสี่ยงที่เว็บไซต์จะเกิดความเสียหาย จากการลงปลั๊กอินที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือเกิดจากการตั้งค่ามั่วซั่วของเราเองนั้นแหละ 555+
ในเมื่อปลั๊กอินคือสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ที่แต่ละเว็บไซต์จะต้องมี เราจึงจำเป็นต้องเลือกใช้ปลั๊กอินที่ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งผมจะมาแนะนำให้ในบทความนี้แหละครับ
สำหรับมือใหม่ทุกท่านผมแนะนำให้ไปอ่านบทความนี้ก่อนนะครับ “ สอน wordpress “
สารบัญ ( ยาวไปเลือกอ่านได้นะ )
สิ่งที่ทำให้ WordPress มีผู้ใช้งานทั่วโลกนั้น เป็นเพราะมีปลั๊กอินหลากหลายประเภท ที่ตอบโจทย์ให้กับผู้ใช้งาน เช่น Woocomerce ที่ช่วยเรื่องการขายสินค้าออนไลน์ มีระบบตระกร้าสินค้า ชำระเงินได้ทันที เป็นต้น
ปลั๊กอิน WordPress คืออะไร
ปลั๊กอิน หรือ ส่วนเสริม คือ สคริปต์ ที่ต้องทำงานใน WordPress ไม่สามารถทำงานด้วยตัวมันเองได้ ปลั๊กอินมี 2 แบบคือ แบบแรก เพิ่มความสามารถของ WordPress ที่มีอยู่แล้ว ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แบบที่สอง คือ เพิ่มความสามารถในสิ่งที่ WordPress ยังไม่มี ซึ่งปลั๊กอินเหล่านี้จะมีตั้งแต่ทำงานเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงงานใหญ่ๆ
- การออกแบบ : ปรับแต่งเว็บไซต์ในส่วนของการแสดงผลต่างๆ
- การตลาด ประชาสัมพันธ์ : Social media, Email marketing
- ความปลอดภัย : ป้องกัน Malware, Firewall, Hacker, Spam
- การปรับแต่งเว็บไซต์ให้เร็วขึ้น : Cache, บีบอัดข้อมูล (optimize)
- การจัดการข้อมูล : การ Backup, การเคลื่อนย้ายข้อมูล (migration)
- ปลั๊กอินที่เสริมระบบใหญ่ : E-commerce, Booking, Community
WordPress ก็เป็นเหมือนโครงสร้างบ้าน ที่เราสามารถที่จะออกแแบบและตกแต่งให้สวยงามได้ด้วยธีม และต่อเติมฟังก์ชั่นพิเศษด้วยปลั๊กอิน
กลับสู่สารบัญ
Plugins Free หรือ Premium
ก็ต้องบอกว่าปลั๊กอินทุกประเภทนั้นมีทั้งแบบฟรี และแบบพรีเมี่ยม แล้วแต่ว่าเราจะลองใช้แบบไหนแล้วตอบโจทย์มากกว่ากัน ซึ่งทำให้ในบางครั้งเราอาจจะต้องลงทุนซื้อปลั๊กอิน เพื่อให้ได้มาซึ่งฟังก์ชั่นที่เราต้องการ โดยหลายๆปลั๊กอินจะมีทั้ง 2 เวอร์ชั่น คือแบบฟรีให้เราใช้งานได้ปกติ และแบบ Pro ที่จะมีฟังก์ชั่นมากขึ้นกว่าเดิม หรือจะเป็นแบบ Add-on หรือ Extension ให้เราเลือกซื้อบางส่วนที่ต้องการใช้งานเพิ่มเติมจากตัวฟรี
ปลั๊กอิน Premium นั้นใช่ว่าจะดีและคุ้มค่ากว่าตัวฟรีเสมอไป มีปลั๊กอินฟรีหลายตัวที่ทำงานได้ดีมากๆ เพียงแต่บางฟังก์ชั่นที่เฉพาะเจาะจงและเราจำเป็นต้องใช้นั้น มันไม่มีอยู่ในตัวปลั๊กอินฟรีเท่านั้นเอง
WordPress.org
เป็นแหล่งรวมที่มีธีมและปลั๊กอินฟรี ซึ่งเป็นของ WordPress เอง ปลั๊กอินที่อยู่ในนี้เราสามารถที่จะติดตั้งฟรีผ่านทาง Dashboard ของเราได้เลย เพียงแค่ Search ชื่อปลั๊กอินและคลิก Install เท่านั้น
Premium plugins
ปกติแล้วปลั๊กอินพรีเมี่ยมส่วนใหญ่ จะนิยมทำเว็บขายปลั๊กอินเป็นตัวเอง โดยไม่ค่อยนำไปขึ้นร้านขายรวมกันบน Marketplace ที่ใหญ่ๆ อย่าง ” Codecanyon “ สักเท่าไหร่ เพราะใครที่ต้องการจะโปรโมทปลั๊กอินของตัวเองก็มักทำปลั๊กอินลงที่ WordPress.org แล้วดึงคนที่ใช้ฟรีมาเป็นลูกค้าของตัวเอง
แต่ข้อดีอย่างหนึ่งของปลั๊กอินที่ Codecanyon นั่นก็คือ เราไม่ต้องต่ออายุรายปี แต่ก็นั้นแหละ เลยทำให้นักพัฒนาไม่นิยม เพราะรายได้ลดลง เนื่องจากลูกค้าจะจ่ายเพียงครั้งเดียวต่อเว็บและไม่ต้องจ่ายเพิ่มเพื่อการอัพเดตอีกเลย
กลับสู่สารบัญ
การเลือกใช้ปลั๊กอิน wordpress
เนื่องจากปลั๊กอินมีเยอะมาก ดังนั้นเราก็จะต้องมีการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นให้ดี เพราะการเรียนรู้ใช้งานปลั๊กอินนั้น บางตัวอาจจะเข้าใจได้ง่ายในเวลาไม่นาน แต่ปลั๊กอินบางประเภทที่มีความซับซ้อน ก็อาจจะทำให้เราเสียเวลาในการเรียนรู้และทดสอบเยอะพอสมควร ดังนั้นเราจึงต้องพยามคัดกรองเบื้องต้นก่อน อาจจะทำด้วยวิธีง่ายๆเช่น ลิสต์รายชื่อปลั๊กอินแต่ละประเภทที่ต้องการไว้ จากนั้นนำไป Search ใน Google ทำให้เราคัดกรองได้เร็วขึ้น
1. Last updated
ก่อนที่จะโหลดปลั๊กอินสิ่งแรกที่ควรจะสังเกตุเลยก็คือ การอัพเดตล่าสุดว่านักพัฒนา ยัง Support อยู่มั้ย ถ้าเป็นปลั๊กอินที่ไม่ค่อยซับซ้อนอาจจะไม่ต้องมีอัพเดทปล่อย แต่ถ้าเป็นปลั๊กอินที่มีระบบซับซ้อน ก็ไม่ควรจะห่างการอัพเดตนานเกินไป
กลับสู่สารบัญ
2. Review และ Comments
ในส่วนของคะแนนที่เป็นดาวและคอมเม้นท์ ทำให้เรารู้ได้ในระดับหนึ่งว่าปลั๊กอินนี้มีคุณภาพเป็นอย่างไร จุดเด่น – จุดด้อย มีอะไรบ้าง เพราะผู้ที่เคยใช้งานเขาก็มักจะ Comment ไว้ เช่น ปลั๊กอินตัวนี้ยังขาดอะไรไปบ้าง ใช้งานยากหรือไม่ เพื่อให้ผู้ที่กำลังจะใช้งานคนอื่นและนักพัฒนาได้รับทราบ หรือคนที่ได้รับประสบการณ์แย่ๆ จากการใช้งานก็อาจจะมารีวิวเช่นกัน ซึ่งเราควรจะต้องดูว่ามันมีปัญหาจากสาเหตุอะไร ปัญหาแบบนั้นจะเกิดกับเราหรือไม่ และมีวิธีแก้ไขอย่างไร นอกจากนี้เราก็ยังสามารถดูรีวิวล่าสุดได้ด้วย
บางครั้งปัญหาก็อาจจะไม่ได้เกิดจากปลั๊กอินเอง แต่สาเหตุอาจจะมาจากอย่างอื่น เช่น อาจจะเป็นเพราะลูกค้าตั้งค่าไม่เป็น หรือ มีปลั๊กอินอื่นที่ชนกัน ( ฟังก์ชั่นเหมือนกัน ) หรือไม่ก็อาจจะเป็นที่ Host ลูกค้าเอง ซึ่งเราต้องวิเคราะห์ให้ดี
กลับสู่สารบัญ
3. Support ช่วยแก้ไขปัญหา
ปลั๊กอินบน WordPress.org นั้น สามารถที่จะโพสแจ้งปัญหาการใช้งานให้นักพัฒนาทราบเพื่อทำการแก้ไขต่อไป (ต้องสมัคร Account ก่อนนะ ถึงจะโพสได้) ซึ่งจะทำให้เรารู้ได้ว่าแต่ละคนมีปัญหาอะไรบ้าง และเจ้าของปลั๊กอินซัพพอร์ตช่วยเหลือได้ดีแค่ไหน
ต้องเข้าใจก่อนว่าปลั๊กอินฟรี อาจจะไม่ได้มีการ Update บ่อยนัก แต่การที่นักพัฒนาผู้เป็นเจ้าของปลั๊กอินยังมาคอยตอบคำถามอยู่เสมอ ก็เป็นเรื่องที่ดี
กลับสู่สารบัญ
4. Requirement ความต้องการของระบบ
ความต้องการของระบบ หลายๆ ปลั๊กอินจะมีบอกว่าต้องใช้บน PHP และ WordPress เวอร์ชั่นไหน เพราะเราจะได้ไม่เสียเวลาและเสียตังฟรีๆ นอกจากนี้ปลั๊กอินบางตัวยังต้องการธีมที่รองรับเป็นพิเศษจึงจะสามารถใช้งานได้ เช่น WPML, WooCommerce, bbPress เป็นต้น
กลับสู่สารบัญ
5. Plan and Pricing
สำหรับปลั๊กอินที่ต้องเสียเงินซื้อ นอกจากปลั๊กอินที่ขายบน Codecanyon แล้วเว็บอื่นๆส่วนใหญ่จะขายแบบต่ออายุรายปี นั่นก็หมายถึงเราจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในทุกๆ ปี ดังนั้นเราควรจะรู้ว่าปลั๊กอินนี้มีราคาเป็นแบบไหน เงื่อนไขเป็นอย่างไร ใช้ได้เท่าไหร่บ้าง
ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 3 แพลนหลักๆ คือ
- Personal, Single : ราคาถูกสุด ใช้ได้เว็บไซต์เดียว
- Bussiness, Plus : สามารถใช้ได้หลายเว็บ แต่ก็ยังมีจำนวนจำกัด
- Developer, Agency, Unlimited : ราคาแพงสุด ซึ่งมักจะใช้ได้ไม่จำกัด หรือบางทีอาจจะจำกัดในปริมาณที่มากหน่อย เช่น 100 เว็บไซต์ต่อ 1 licence
กลับสู่สารบัญ
6. จำนวนผู้ใช้งาน
ไม่ว่าจะเป็นจำนวน Active install หรือ Sales ก็เป็นจุดที่จะต้องพิจารณาเหมือนกัน เช่นปลั๊กอินที่ขายบนตลาดอย่าง Codecanyon ที่อัพเดตฟรีตลอดชีพ แต่ปลั๊กอินนั้นมียอดขายน้อย และดูเหมือนว่าไม่ได้อัพเดตมานานด้วย แถมยังมีคนใช้น้อยอีก อันนี้ต้องห่างๆ ไว้ก่อน เพราะมีความเสี่ยงต่อการถูกทอดทิ้งจากนักพัฒนาได้ตลอดเวลา
กลับสู่สารบัญ
7. Alternative plugin ปลั๊กอินทดแทน
ก่อนที่เราจะจ่ายเงินไปให้กับปลั๊กอินสักตัว เราควรจะหาข้อมูลก่อนว่าฟังก์ชั่นที่เราต้องการนั้น มีปลั๊กอินตัวเลือกอื่นๆ ที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ โดยเฉพาะที่เป็นปลั๊กอินฟรี จะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ เพราะบางครั้งปลั๊กอินฟรีทำงานดีกว่าตัวเสียเงินซะอีก ซึ่งถ้าไม่ค้นหาข้อมูลให้ดีเสียก่อน เราก็อาจจะเสียเงินโดยใช่เหตุ หรือในบางครั้งเราอาจจะใช้ปลั๊กอินมากกว่า 1 ปลั๊กอิน ทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ในสิ่งที่เราต้องการจากปลั๊กอินที่เสียเงิน เป็นต้น ซึ่งก็เป็นการประหยัดได้ดีและมันอาจจะสามารถทำงานด้วยกันได้
การเลือกใช้ปลั๊กอินเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเฉพาะปลั๊กอินที่เพิ่มความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ ถ้าตั้งค่าไม่เป็นอาจจะทำให้เว็บไซต์นั้นพังได้ ดังนั้นควรใช้ปลั๊กอินเท่าที่จำเป็นไม่เยอะเกินไปและ Support กับธีมที่เราใช้
กลับสู่สารบัญ
7 ปลั๊กอิน WordPress ที่ทุกเว็บไซต์ควรมี
สำหรับบทความนี้ผมได้รวบรวมรายชื่อปลั๊กอินที่ควรลงทุกครั้งเมื่อทำเว็บไซต์ จะมีอะไรกันบ้างมาดูกันเลยครับ ( มือใหม่ผมแนะนำให้อ่านบทความด้านบนก่อนนะครับ จะได้เข้าใจตัวปลั๊กอินได้มากขึ้น )
1. Yoast SEO
ก็ต้องบอกว่าไม่มีใครไม่รู้จักปลั๊กอินอันโด่งดังตัวนี้ โดยเฉพาะสาย SEO จะรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นปลั๊กอินที่ช่วยเช็คคะแนนการ Set Onpages ให้ตรงตามมาตรฐานของการทำ SEO ซึ่งจะมี Score ให้ดู โดยจะมีสีเป็นตัวบ่งบอกสถานะของการ Set Onpages ว่าอยู่ในระดับใด ส่วนรายละเอียดการตั้งค่าเดียวผมจะเขียนบทความแยกอีกทีนึงนะครับ
- สีเขียว : ดี – ดีมาก
- สีส้ม : พอใช้
- สีแดง : แย่
ซึ่งตัว Yoast เองนั้น จะคอยแนะนำเรื่องการ Set ให้อยู่แล้วว่าตรงไหนควรปรับปรุงหรือตรงจุดไหนดีแล้ว ทำให้ง่ายต่อการทำงานมาก
ทดลองโหลดไปใช้งานได้เลยครับ Yoast SEO
นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการควบคุมรูปภาพ และ title เพื่อใช้ในการแชร์ไปยัง social media ให้แสดงผลถูกต้องอีกด้วย
ตัวอย่างการตั้งค่า Yoast SEO
กลับสู่สารบัญ
2. Seed Social
ปลั๊กอินชื่อดังอีกตัวนึงที่นิยมใช้ในไทยมาก เพราะเป็นปลั๊กอินฝีมือคนไทยนั้นเอง โดยเป็นปลั๊กอินประเภท Share Social ใช้งานง่าย ที่สำคัญขนาดไฟล์เล็กมากๆ
คุณสมบัติปลั๊กอิน
- Facebook, Twitter, Google +, Line
- Responsive รองรับการแสดงผลตามขนาดหน้าจอ
- Post types สามารถเลือกที่จะแสดงหรือซ่อนบน post/page/custom post type ได้
ลองโหลดมาใช้งานดูเลยครับแล้วจะติดใจ Seed Social
Seed Social เป็นปลั๊กอินแชร์สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ เพราะมีปุ่มแชร์ไปยัง Line ซึ่งต่างจากปลั๊กอินแชร์ของต่างประเทศที่มักจะไม่ค่อยมี Line เพราะต่างประเทศไม่นิยมใช้ เลยพูดได้ว่านี้เป็นปลั๊กอินแชร์ที่เหมาะกับคนไทยโดยเฉพาะ
ตัวอย่างการตั้งค่า Seed Social
กลับสู่สารบัญ
3. WP Rocket
ปลั๊กอินสร้าง Cache สำหรับ WordPress คุณภาพเยี่ยม เป็นปลั๊กอินเสียเงิน ไม่มีเวอร์ชั่นฟรี แต่ฟังก์ชั่นจัดเต็ม ช่วยให้เว็บเราเร็วขึ้นได้อย่างมาก และยังช่วยลดการใช้ปลั๊กอินอีกด้วย ก็แน่ล่ะคุณสมบัติเยอะเหลือเกินกับปลั๊กอินตัวนี้
คุณสมบัติปลั๊กอิน
- Generate Critical CSS ช่วยสร้าง Critical CSS ให้อัตโนมัติ
- ระบบแยก Cach ระหว่าง Desktop และ Mobile
- Minify & Combine JS/CSS รวมและบีบอัดไฟล์ JS และ CSS
- Load JS Deferred โหลด JavaScript หลังจากโหลดข้อมูลเสร็จแล้ว
- LazyLoad Image, iFrame, Video
- Disable Emoji
- Sitemap Preloading
- Database optimization
- Google font optimization
- Remove query string from static resource
- CloudFlare compatibility
- DNS Prefetching
- Import/Export
ลองซื้อมาใช้งานดูครับคุ้มราคาแน่นอน WP Rocket
สิ่งที่ทำให้ WP Rocket แตกต่างจากปลั๊กอินแคชตัวอื่นๆคือ หน้าตาและฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆที่ User Friendly มากๆ
ตัวอย่างการตั้งค่า WP Rocket
กลับสู่สารบัญ
4. Caldera Forms
Plugin WordPress ที่ใช้สร้าง Forms สำหรับ บันทึกข้อมูลลง Database และส่ง Email หาผู้ดูแลเว็บไซต์ สามารถประยุกต์ใช้กับงานได้หลายประเภทเช่น แบบ Form สมัครงานเป็นตัน
คุณสมบัติปลั๊กอิน
- Conditional Logic สร้างฟอร์มแบบมีเงื่อนไข ( มีchoiceให้เลือก )
- Multi-Page สร้างฟอร์มแบบหลายหน้า
- Entries บันทึกข้อมูลและสามารถ Export เป็น CSV ได้
- Auto Responder ส่ง Email ตอบกลับไปยังผู้ส่งอัตโนมัติ
- Redirect ทำการรีไดเรคไปหน้าที่ต้องการหลังส่งฟอร์ม
- Conditional Recipient กำหนดเงื่อนไขให้ส่งฟอร์มถึงผู้รับต่างกันได้
- Modal มี popupในตัว สามารถให้คลิกลิงค์แล้วเปิดฟอร์มเป็น popup ได้
- Calculation
- Anti Spam ป้องกันสแปมในตัว หรือใช้ร่วมกัน Akismet ก็ได้
- ใช้ CSS Class ของ Bootstrap ในการตกแต่งฟอร์ม
- มี Addons อื่นๆ เพิ่มเติม
ของดีที่ฟรีแบบนี้ไม่โหลดไม่ได้แล้ว Caldera Forms
นอกจากนี้ Caldera Form นั้นสามารถใช้งานแบบ Drag & Drop ได้อีกด้วย แม้จะเป็นปลั๊กอินฟรีแต่บอกเลยว่า คุณสมบัติหลากหลายคุณภาพเทียบเท่าหรือดีกว่าตัวเสียเงินซะอีก
การใช้งาน Caldera Forms เบื้องต้น
กลับสู่สารบัญ
5. All-In-One WP Migration
ปลั๊กอินสำหรับการย้ายโฮส หรือ สำรองข้อมูลเว็บไซต์ โดยทำหน้าที่ในการย้ายและปรับปรุงฐานข้อมูลแทนเราทุกอย่าง ประสิทธิภาพเยี่ยม การใช้งานไม่ซับซ้อนทำให้การผิดพลาดในการแบคอัพลดลง ที่สำคัญใช้งานง่ายกว่าปลั๊กอินแบคอัพตัวอื่นมาก
การใช้งานปลั๊กอินพื้นฐาน
คำสั่งพื้นฐานของปลั๊กอินนี้ก็จะมีอยู่ 3 คำสั่งหลักๆ
- Export
- Import
- Backup
โดยมี Advanced options ดังนี้
- Do not export spam comments : ไม่เอา spam comments
- Do not export post revisions : ไม่เอา revisions
- Do not export media library : (files) ไม่เอาไฟล์ media ทั้งหมด
- Do not export themes (files) : ไม่เอาไฟล์ธีม
- Do not export plugins (files) : ไม่เอาปลั๊กอิน
- Do not export database (sql) : ไม่เอาฐานข้อมูล
การ Export สามารถส่งออกไฟล์ไปที่ Computer เครื่องเรา หรือเก็บไว้ที่ DROPBOX GOOGLE DRIVE และอื่นๆก็ได้เช่นกัน
ใครหาปลั๊กอินแบ็คอัพผมแนะนำเลยครับ All In One Wp Migration
การย้ายหรือโคลนนิ่งเว็บไซต์ด้วยวิธีการ Import/Export จะต่างจากปลั๊กอินแบบ Duplicator ตรงที่เราไม่ต้องไปสร้างฐานข้อมูลเองทั้งหมด แต่ใช้วิธีการลงผ่าน Dasbhoard ของ WordPress ปกติแทน
สาธิตการใช้งาน All-In-One WP Migration
กลับสู่สารบัญ
6. Akismet Anti-Spam
ปลั๊กอินสำหรับใช้ในการต่อต้านกับสแปมที่มักจะมาถล่มเว็บไซต์ของเรา ในช่อง Comment ต่างๆ สำหรับเว็บไซต์ที่เปิดให้คอมเม้นต์ได้ ซึ่งทำงานดีมากครับ ที่สำคัญคือสามารถใช้งานได้ฟรี
คุณสมบัติปลั๊กอิน
- จัดการ Spam
- Akismet Stats แสดงจำนวนสแปม
ของดีบอกต่อโหลดเลย Akismet
การใช้งานเราต้องสมัครสมาชิกที่ wordpress.com ก่อนครับ กรอกรายละเอียดการสมัครให้เรียบร้อย จากนั้นระบบจะส่งข้อมูลการใช้งานมาให้เราทางอีเมลพร้อมทั้ง key ของ Akismet เมื่อเราได้ key มาแล้วก็เอามาใส่ที่เว็บเราได้เลยครับ
การสมัครใช้งาน Akismet Anti-Spam
กลับสู่สารบัญ
7. Insert Headers and Footers
ปลั๊กอินที่ช่วยให้เราสามารถแทรกโค้ดหรือเนื้อหาที่ต้องการ ลงในส่วนของ head, footer หรือจะแทรกลงในส่วนต่างๆ ของ Post และ Page โดยอัตโนมัติก็ได้ เช่น การใส่โค้ด Google Analytics หรือ Facebook Pixel ในส่วน <head> เป็นต้น
คุณสมบัติปลั๊กอิน
- แทรกได้ทั้ง header, footer
- แทรก before, after ได้
- สามารถแทรกระหว่างเนื้อหาได้
- สร้างเงื่อนไขได้
- แทรกไว้ส่วนที่นอกเหนือจากในเนื้อหาได้ (generics)
- แทรกในปลั๊กอิน AMP ได้
- Disable/Enable ในแต่ละ Post/Page ได้
สุดจัดปลัดบอกโหลดเลย Insert Headers and Footers
ข้อดีที่เห็นได้ชัดของปลั๊กอินนี้ก็คือ เราสามารถแทรกโค้ดได้หลายๆ ชุด โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงปลั๊กอินหลายตัว
วิธีแทรก Code ใน Insert Headers and Footers
กลับสู่สารบัญ
สรุป ปลั๊กอิน WordPress
สำหรับปลั๊กอินที่ผมแนะนำในบทความนี้นั้น เป็นปลั๊กอินพื้นฐานที่ผมใช้แทบทุกเว็บที่ผมทำเลยก็ว่าได้ และผมคิดว่ามันทำงานได้มีประสิทธิภาพมากๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นปลั๊กอินฟรีซะด้วย สำหรับใครที่ยังไม่ถูกใจ หรือยังไม่เจอปลั๊กอินที่ต้องการ เดียวผมจะอัพเดทให้ในบทความถัดๆไปนะครับ ใครอยากได้ปลั๊กอินประเภทไหน Inbox ทิ้งไว้ในเพจ webeasydesign ได้เลยครับ