ก่อนที่จะมาสอนใช้งาน wordpress นั้น ถ้าพูดถึงการทำเว็บไซต์ในอดีต หลายคนจะคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายสูง และต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ ที่เชี่ยวชาญในเรื่องภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ
แต่ปัจจุบันการทำเว็บไซต์นั้นง่าย ใครๆ ก็สามารถทำได้เพราะเรามีตัวช่วยที่ดีนั่นเอง ไม่ต้องรู้ coding เพียง 15-20 นาที เว็บไซต์ของคุณก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างได้แล้ว
หากคุณรู้วิธีทำเว็บไซต์ด้วยตนเอง ค่าใช้จ่ายจะลงมาที่ไม่เกิน 5,000 บาท สำหรับการเริ่มต้นมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
บทความนี้ ผมอยากจะแชร์ความรู้ ในการสร้างเว็บไซต์ ให้กับคนที่ทำธุรกิจ ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่สำคัญมากๆ ของการมี ” บ้าน “ เป็นของตัวเองในโลกอินเทอร์เน็ต
สารบัญ ( ยาวไปเลือกอ่านได้นะ )
มากกว่า 75 ล้านเว็บไซต์ เลือกใช้ WordPress หรือคิดเป็น 30% ของเว็บไซต์ทั้งหมดบนโลก
WordPress คืออะไร?
คือ เครื่องมือที่เอาไว้ใช้สร้าง และจัดการเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ต ( Contents Management System หรือ CMS) หมายความว่าคุณสามารถใช้งานได้ทันที ผ่านอินเตอร์เน็ต แทนการดาวโหลดโปรแกรม มาทำการสร้าง และออกแบบเว็บไซต์ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง
ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
สำหรับตัว WordPress เองนั้น เขียนด้วยภาษา PHP และใช้ Apache, MySQL และ PhpMyAdmin ในการรันเป็นเซิฟเวอร์
การที่ WordPress นั้นรันอยู่บนฝั่งเซิฟเวอร์ ดังนั้นคุณสามารถใช้โปรแกรม DesktopServer เพื่อจำลองเซิฟเวอร์ในการติดตั้งและใช้งาน WordPress ได้
สำหรับใครจะอยากจะลองเล่น โปรแกรมสำหรับจำลอง เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ให้ทำงานในลักษณะของ webserver ลองโหลด bitnami มาเล่นดูครับติดตั้งไม่อยาก
WordPress Core
ตัวขับเคลื่อนหลักที่เป็นหัวใจสำคัญ เปรียบเสมือนเครื่องยนต์ที่จะขาดไปเสียไม่ได้
Themes
ชุดไฟล์ที่ประกอบด้วยไฟล์โค้ด และไฟล์รูปภาพต่างๆ ที่ทำให้หน้าตาของเว็บไซต์นั้นเปลี่ยนไป ซึ่งแต่ละ ธีม จะมีหน้าตาที่แตกต่างกัน
3 ประเภทหลักของ Themes
- Theme ฟรี ( Free Themes )
สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้เลย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และไม่มีข้อจำกัดในการใช้งาน เราสามารถดาวน์โหลดธีมฟรีได้จาก Themes ซึ่ง เป็นแหล่งรวมธีมจากนักพัฒนาทั่วโลก เราสามารถติดตั้ง ใช้ได้ฟรีจากหน้าควบคุมของ WordPress - Theme เสียค่าใช้จ่าย ( Premium Themes )
จะต้องเสียค่าใช้จ่าย ก่อนดาวน์โหลดมาใช้งาน หลังจากที่ดาวน์โหลดและติดตั้งจนเสร็จ จะต้อง ทำการ Activate Key ก่อน เพราะไม่อย่างนั้นจะใช้งานไม่ได้ โดยปกติแล้ว Premium Themes จะมีฟังก์ชัน และลูกเล่นต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพกว่า Theme ฟรี สำหรับใครที่มีงบในการซื้อ Theme สามารถเข้าไปดูได้ที่ Themeforest.net ซึ่งมีธีมสวยๆมากมายจากทั่วโลก ให้เราเลือกซื้อและดาวน์โหลด - Theme ฟรี คุณภาพดี ( Freemium Themes )
สามารถดาวน์โหลดมาแล้ว ใช้ได้เลยโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่จะมีข้อจำกัดในการใช้งาน คือสามารถใช้งานได้บางฟังก์ชันเท่านั้น หากต้องการเพิ่มฟังก์ชันที่ดีขึ้น ต้องชำระเงินเพื่อปลดล็อกในการใช้
ข้อแตกต่างระหว่างธีมฟรีและธีมพรีเมี่ยมนั้น นอกจากในเรื่องของฟังก์ชั่นเสริมแล้ว ยังมีในเรื่องของการซัพพอร์ตจากคนเขียนธีม การอัพเดต ที่ธีมแบบพรีเมี่ยมจะให้ได้มากกว่า
Theme กับ SEO
โครงสร้างของ theme นั้นมีความสำคัญกับการทำ SEO อยู่ไม่น้อย ซึ่งปกติแล้ว WordPress นั้นเป็นมิตรกับ SEO อยู่แล้ว เพราะวิธีเขียนโค้ดภายใน ตรงตามมาตรฐาน W3C (World Wide Web Consortium) และโครงสร้างของ WordPress นั้นยังสอดคล้องกับแนวคิดของ Google นอกจากนี้ยังมี Plugin ต่างๆ ที่ช่วยในการทำ SEO
สำหรับใครที่ต้องการที่จะซื้อธีมมาใช้ แต่ไม่รู้ว่าจะซื้อตัวไหนดี แนะนำให้ซื้อ Popular Theme ด้วยเหตุผลที่ว่า ธีมเหล่านี้เป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงหมดปัญหาเรื่องการ support รวมถึงเมื่อเราติดปัญหาในการใช้งานธีม สามารถหาคนช่วยเหลือ หรือให้คำแนะนำได้ง่าย
Plugins
คือ ส่วนเสริมของ WordPress ที่ช่วยเพิ่มความสามารถ หรือประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ เช่น การใช้ปลั๊กอิน WooCommerce เพื่อสร้างร้านค้าขายสินค้าออนไลน์ มีระบบตระกร้าสินค้า เป็นต้น
ส่วนปลั๊กอินที่ควรติดตั้งทุกครั้งเมื่อทำเว็บไซต์ แนะนำให้อ่านบทความนี้ครับ ” ปลั๊กอิน wordpress “
กลับสู่สารบัญ
เหมาะกับเว็บไซต์แบบไหนบ้าง
จริงๆ แล้วสามารถทำเว็บไซต์ได้ทุกแบบ แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ จะเหมาะร้านค้าเดี่ยว มากกว่าที่จะทำเป็น Market place เนื่องจากมีความซับซ้อนของระบบสูง
ประเภทเว็บไซต์ที่นิยมสร้างด้วย WordPress
- เว็บบทความ ( Article ) เขียนบทความต่างๆ เช่น รีวิวโรงแรม ร้านอาหาร ท่องเที่ยว สินค้า เป็นต้น
- เว็บข่าว เว็บวาไรตี้ ( Categories, Tags ) ที่ส่วนใหญ่จะเน้นการจัดหมวดหมู่และแท็ก
- เว็บบริษัท ( Business ) ซึ่งมีธีมที่ดูน่าเชื่อถือ เป็น Professional ให้เลือกมากมาย
- เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ ( E-commerce ) โดยใช้ปลั๊กอินฟรีอย่าง WooCommerce
กลับสู่สารบัญ
สามารถใช้งานเวิร์ดเพรส ได้ 2 แบบ คือ
- WordPress.com ให้บริการพื้นที่ฟรีสำหรับการเขียนบล็อก สามารถให้เราเลือกธีมได้ แต่ไม่มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่ง ส่วนโดเมนนั้นก็จะมี .wordpress.com ต่อท้าย
- WordPress.org สามารถดาวน์โหลด Source code มาติดตั้งที่โฮสติ้งเองได้เลย ปรับแต่งและแก้ไขได้อิสระ มีความยืดหยุ่นมากกว่า เหมาะสำหรับทำเว็บไซต์หลากรูปแบบ
แต่ปัจจุบันผู้ให้บริการโฮสติ้งมักจะเขียน Script ช่วยในการติดตั้ง WordPress ไว้อยู่แล้ว เพียงเราแค่กดติดตั้งเท่านั้น ซึ่งง่ายมากๆ
กลับสู่สารบัญ
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนที่จะเริ่มทำเว็บไซต์
WordPress
ตัวเวิร์ดเพรสนั้นเป็น Open Source หมายความว่าทุกคนสามารถใช้งานได้ฟรี รวมถึงปลั๊กอินและธีมด้วยเช่นกัน
Hosting (ที่เก็บไฟล์เว็บไซต์)
คือ พื้นที่สำหรับใช้ติดตั้งเซิฟเวอร์และเก็บไฟล์ของ WordPress ทั้งหมด Hosting นั้นมีหลายแบบ ทั้ง Share hosting, VPS hosting, Dedicate hosting หรือ Manage WordPress hosting ส่วนจะเลือกใช้โฮสแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมะสม และความต้องการของเจ้าของเว็บไซต์
Domain ( ชื่อเว็บไซต์ )
เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้ชื่อเว็บแทนการใช้ IP Address ตามด้วย .com, .net และอื่นๆ อีกมากมาย โดเมนจะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ IP Address ของเรา ค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้จะอยู่ที่ไม่เกิน 500 บาท
กลับสู่สารบัญ
สนใจทำเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ >
มารู้จักหน้าตาหลังบ้านของ WordPress
ตัวอย่างหน้า Login
หลังจากที่ติดตั้ง WordPress เสร็จแล้ว วิธีที่จะ Login เข้าสู่ระบบหลังบ้าน สามารถทำได้ได้โดยพิมพ์ ‘/wp-admin’ หลัง URL เว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่างเว็บไซต์ของเรา http://demo1.webeasycloud.com/wp-admin เมื่อล็อกอินเข้าไปแล้ว คุณจะเจอกับหน้าต่างนี้
หน้าตา Dashboard ซึ่งเป็นหน้าแรกหลังจากที่เข้าสู่หลังบ้าน จะมีเมนู 2 ส่วนหลักๆ คือ Admin Menu ด้านซ้ายมือและ Toolbar เป็นแถบด้านบนซึ่งเป็นทางลัดไปยังเครื่องมือต่างๆ ในบล็อก
ตั้งชื่อและตั้งค่าเว็บไซต์
อันดับแรกเราจะเริ่มต้นใช้งาน WordPress ด้วยการตั้งค่าเว็บไซต์ กดเลือกหน้า “Setting” จากเมนูด้านซ้ายมือ ซึ่งควรตั้งค่าหลักๆ ดังนี้
วิธีตั้งค่าการแสดงผลทั่วไปบนเว็บไซต์
ดูที่เมนูด้านซ้าย ไปที่ Settings > คลิก General
- Site Title: ใส่ชื่อเว็บไซต์ที่จะให้แสดงผล
- Tagline: เขียนคำอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับธุรกิจหรือร้านค้าของเรา
- Email Address: ใส่อีเมลติดต่อที่ใช้งานจริง
- Site Language: เลือก ไทย (พวกแถบเมนูจะเปลี่ยนเป็นภาษาไทย)
- Time zone: เลือกโซนเวลา เมืองไทยให้เลือกเป็น UTC+7
- Date Format: เลือกแบบ วัน/เดือน/ปี แล้วแต่ถนัด
- Week Starts On: วันเริ่มต้นสัปดาห์ ให้เลือกเป็น วันอาทิตย์
ตั้งค่าทุกอย่างเสร็จให้คลิก save change
วิธีทำให้แถบเมนูหลังบ้าน (Dashboard) แสดงผลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อความเป็นสากล แต่ให้เป็นภาษาไทยเฉพาะหน้าบ้าน
สามารถทำได้โดยให้เราไปเปลี่ยนที่ส่วนของ ผู้ใช้ ( User ) แล้วคลิก แก้ไข ตรงชื่อ user
ตรงภาษา ให้เลือกเป็น English
ตั้งค่าการอ่าน
ดูที่เมนูด้านซ้าย ไปที่ Settings > Reading
ส่วนนี้สำหรับตั้งค่าหน้าแรกของเว็บไซต์ ว่าคุณต้องการแสดงบทความล่าสุด หรือหน้าเว็บแบบกำหนดเอง หากเลือกแสดงบทความล่าสุด คุณสามารถใส่จำนวนบทความที่จะแสดงได้ด้วย
ตั้งค่าการเขียน
ดูที่เมนูด้านซ้าย ไปที่ Settings > Writing
หน้านี้สำหรับตั้งค่าเมื่อคุณต้องการเขียนบทความใหม่
- Default Post Category คุณสามารถกำหนดหมวดหมู่เริ่มต้น เมื่อคุณเขียนบทความใหม่
- Default Post Format รูปแบบหน้าตาตั้งต้นของบทความ ซึ่งจะขึ้นกับธีมที่คุณใช้
ตั้งค่าการสนทนา
ดูที่เมนูด้านซ้าย ไปที่ Settings > Discussion
- Default article settings กำหนดค่าเริ่มต้นของบทความ
- Allow link notifications อนุญาตให้มีการแจ้งเตือนว่ามีลิงค์จากเว็บไซต์อื่น
- Allow people to post comments อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชม สามารถแสดงความคิดเห็นบนบทความ (หากคุณกำลังสร้างเว็บไซต์ใหม่และยังไม่เสร็จสมบูรณ์ คุณสามารถปิดการใช้งานส่วนคอมเมนต์ก่อนได้)
- Before a comment appears คำสั่งก่อนแสดงคอมเมนต์
- An administrator must always approve the comment ผู้ดูแลเว็บไซต์จะต้องอนุมัติคอมเมนต์ก่อนเสมอ
- Comment author must have a previously approved comment คนที่เคยคอมเมนต์มาก่อนแล้ว คอมเมนต์ต่อมาจะได้รับการอนุมัติทันที
- Avatar Display สามารถกำหนดได้ว่าจะแสดงรูปภาพประจำตัวหรือไม่ และแสดงในรูปแบบใด
ตั้งค่าเกี่ยวกับไฟล์มีเดีย
ดูที่เมนูด้านซ้าย ไปที่ Settings > Media
- Thumbnail Size: การขนาดรูปภาพซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาพปก ก่อนเข้าไปอ่านบาทความจะเป็นรูปขนาดเล็ก
- Medium Size: การกำหนดขนาดภาพขนาดกลาง
- Large size: การกำหนดขนาดภาพขนาดใหญ
ตรงส่วนนี้จริงๆไม่จำเป็นต้องปรับอะไรก็ได้ เพราะส่วนใหญ่เวลาติดตั้ง Themes มันจะมีการกำหนดอัตรส่วนของภาพ ให้เหมาะสมอยู่แล้ว
ตั้งค่าลิงค์ถาวร
ดูที่เมนูด้านซ้าย ไปที่ Settings > Permalink
Permalinks คือ การแสดงผลของ URL ว่าต้องการแบบไหน เช่น เป็นตัวเลข, เป็นวันที่, หรือเป็นข้อความ ซึ่งใน WordPress นั้นเราสามารถที่จะตั้งค่า ได้หลายแบบ ซึ่งค่า Default เดิมจะใช้แบบ Plain คือแสดงผลเป็น Post ID ของโพสนั้นๆ
แนะนำให้ติ๊กที่ช่อง Post Name เนื่องจากจดจำได้ง่าย และยังเป็นผลดีกับ SEO
กลับสู่สารบัญ
การเพิ่มเนื้อหาเว็บไซต์
เมื่อตั้งค่าพื้นฐานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเราจะมาเรียนรู้วิธีเพิ่มเนื้อหาเข้าไปในตัวเว็บไซต์ ซึ่งจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ บทความ ( Post ) และหน้าเว็บ ( Pages )
Pages คืออะไร
คือหน้าเว็บที่ไม่มีการเรียงลำดับวันที่ ไม่จำเป็นต้องแบ่งหมวดหมู่เนื้อหา และไม่สามารถ ” Comment “ ได้
ตัวอย่างหน้าเว็บที่เหมาะกับการใช้ Pages เช่น
- หน้า Home ( หน้าหลัก )
- หน้า About ( หน้าเกียวกับเรา )
- หน้า Contact ( หน้าติดต่อเรา ) เป็นต้น
Post คืออะไร
คือหน้าเว็บที่ถูกสร้างขึ้น โดยเรียงลำดับตามวันที่ ( ใหม่ > เก่า ) วิธีเรียงลำดับแบบนี้จะทำให้คนอ่านเห็นโพสใหม่ ได้ง่ายกว่าโพสเก่า
ตัวอย่างเนื้อหาที่เหมาะกับการใช้ Post เช่น
- บทความทั่วไป
- ประกาศข่าวสารต่างๆ
- รีวิวต่างๆ
สร้างหน้าเว็บใหม่
เลือก Pages > Add New จากเมนูซ้ายมือเพื่อสร้างหน้าเพจใหม่
การสร้างหน้าเว็บใหม่ จะมีหน้าตาเหมือนการสร้างบทความใหม่ มีกล่อง Page Attributes ที่ให้เราสามารถกำหนด Template เฉพาะสำหรับหน้าเว็บนั้นๆ แต่จะไม่มีส่วนของกล่อง Category และ Tags
วิธีสร้างบทความใหม่
เลือก Posts > Add New จากเมนูซ้ายมือเพื่อสร้างบทความใหม่
- Title/Headline ใส่หัวข้อบทความ เช่น สอน WordPress สำหรับมือใหม่
- Visual editor พื้นที่ที่ใช้สำหรับใส่ข้อมูล จะแสดงผลเหมือนในหน้าเว็บ ซึ่งมีเครื่องมือสำหรับปรับแต่งรูปแบบข้อความ ตัวหน้า ตัวเอียง ย่อหน้า จัดตำแหน่งย่อหน้า เพิ่มลิงก์ แทรกรูปภาพ เป็นต้น
- Add Media สำหรับแทรกรูปภาพหรือวิดีโอ
- กล่อง Publish สำหรับตั้งค่าสถานะบทความ มี 4 แบบ คือ Publish (เผยแพร่แล้ว), Draft (ฉบับร่าง ยังไม่เสร็จสมบูรณ์), Schedule (ตั้งเวลาโพสต์) และ Trash (ย้ายไปที่ถังขยะ)
- Category และ Tag
– Category กำหนดหมวดหมู่บทความ สามารถสร้างหมวดหมู่ซ้อนแยกย่อยได้
– Tags สำหรับจัดกลุ่มบทความที่มี Keyword เหมือนกัน เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา - Featured Image ภาพหน้าปกของโพส
กลับสู่สารบัญ
การสร้างเมนู
เมื่อเราสร้าง Pages ต่างๆเสร็จเรียบร้อยแล้ว หน้าเหล่านั้นจะยังไม่แสดงผลให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้เห็น เพราะมันยังไม่มีเมนู ที่จะเชื่อมโยงไปยังหน้านั้นๆ ดังนั้นเราจะต้องทำการสร้างเมนู และ Add หน้า Pages ที่ต้องการเข้าไป
เลือก Appearance > Menus จากเมนูซ้ายมือเพื่อสร้างเมนู
ทำการสร้างชื่อเมนู จะตั้งชื่ออะไรก็ได้ตามแต่สะดวก หลังจากนั้นกด Create Menu
ต่อมาให้ทำการเลือกหน้า ที่เราต้องการให้แสดงบนเมนู จากนั้นคลิก add to menu ถ้าต้องการสลับตำแหน่ง Pages ก่อน-หลัง ก็สามารถทำได้โดยการ Drag & Drop ที่ Pages นั้นๆตามต้องการได้เลย
นอกจากนั้นเรายังสามารถเปลี่ยน Navigation Label (ป้ายชื่อเมนู) ได้โดยคลิกตรงมุมขวาที่เป็นลูกศรเล็กของแถบเมนู ก็จะสามารถเปลี่ยนชื่อได้ตามต้องการ
รวมถึงหากเราต้องการเมนูย่อย ( sub menu ) ก็ทำได้โดยการลากเมนูนั้นให้อยู่ใต้ของตัวเมนูหลักที่เราต้องการได้เลย
ไม่ใช่แค่ Pages เท่านั้นที่สามารถทำเป็นเมนูได้ เรายังสามารถนำ Post , Category , Product Category , Custom Link ก็สามารถ Add เป็นเมนูได้
การสร้างเมนูนั้น เราสามารถมีได้หลายชุด เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งานที่รวดเร็ว ซึ่งตอนที่สร้างเมนู เราจะสามารถกำหนดได้ว่า จะให้เมนูอยู่ที่ตำแหน่งไหนบนเว็บไซต์ของเรา Location (ที่ตั้งของเมนู) ซึ่งเมนูที่ต้องมีและใช้บ่อยก็คือ ในส่วนของตำแหน่ง Top Menu
หลังจากกด Save Menu แล้ว ให้กลับไปดูการเปลี่ยนแปลงที่หน้าเว็บของเรา ซึ่งจะมีเมนูที่ทำ การสร้างปรากฎขึ้นมา
ตัวอย่างการสร้างเมนู
กลับสู่สารบัญ
การสร้าง Sidebar
แถบด้านข้างที่มักจะแสดงร่วมกับหน้า Post หรือหน้า Product จุดประสงค์คือ เพื่อเป็นช่องทางในการทำการตลาด เช่น แจ้งโปรโมชั้น เป็นต้น
เลือก Appearance > Widgets จากเมนูซ้ายมือเพื่อสร้าง Sidebar
สามารถเลือกชิ้นส่วนวิดเจ็ตที่ต้องการ ไปใส่ไว้ที่ตำแหน่ง Slidebar ได้เลย จะด้วยวิธีคลิ๊ก หรือ Drag & Drop ก็ได้ ตามแต่ถนัด
รูปแบบแถบเมนูด้านข้าง แสดงหมวดหมู่สินค้า ช่วงราคา และ สินค้าที่ดูบ่อย
ตัวอย่างการสร้าง Sidebar
กลับสู่สารบัญ
การติดตั้ง Themes
เลือก Appearance > Theme เพื่อติดตั้งธีม ซึ่งจะสามารถติดตั้งได้ 2 แบบ
- ติดตั้งโดยปุ่ม Add New ในหน้าธีมได้เลย กด Install และ Activate
2. ติดตั้งโดยคลิก Upload Themes ไฟล์ธีมที่เราเตรียมไว้ กด Install และ Activate ซึ่งวิธีนี้ส่วนมาก จะใช้ติดตั้งธีมที่เสียค่าใช้จ่าย
กลับสู่สารบัญ
การติดตั้ง plugin
เลือก Plugins > Add New จากเมนูซ้ายมือเพื่อเข้าสู่หน้าปลั๊กอิน
จากนั้นหาปลั๊กอินที่ต้องการจะติดตั้ง จะเลื่อนหาหรือจะพิมพ์ก็ได้ แล้วแต่สะดวก เมื่อเจอแล้วก็กด Install Now รอจนโหลดเสร็จ กด Activate เพื่อเริ่มใช้งาน
กลับสู่สารบัญ
การใช้งาน Footer
เป็นส่วนที่แสดงอยู่ด้านล่างสุดของเว็บ และแสดงผลเหมือนกันทุกหน้า ทั้งหน้าที่ page และเป็น post
เลือก Appearance > Widgets จากเมนูซ้ายมือเพื่อปรับแต่ง Footer
ปรับแต่ง Footer ได้ตามใจชอบจนเป็นที่พอใจ จากนั้นกด Save เป็นอันเรียบร้อย
กลับสู่สารบัญ
สรุป : สอน wordpress
ก่อนอื่นเลยต้องขอปรบมือให้กับคนที่อ่านจนจบ จะเห็นได้ว่าการใช้งาน WordPress นั้นไม่ยาก แต่การจะสร้างเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องที่ยาก เราจึงต้องเรียนรู้การสร้างเว็บให้ถูกวิธี เพราะ WordPress นั้นมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ ซึ่งมือใหม่อาจจะเข้าใจได้ไม่ทั้งหมด ตรงจุดนี้แก้ได้ด้วยการฝึกฝนไปเรื่อย ๆ ให้พื้นฐานแน่นจนเกิดความชำนาญ ในการใช้ฟังก์ชั่นๆต่างๆ สุดท้ายนี้ลองลงมือทำดูครับ ^_^